อากรแสตมป์ เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งตามประมวลรัษฎากร ซึ่งจะทำการจัดเก็บจากการกระทำที่เกี่ยวข้องกับเอกสารต่างๆ เช่น การทำสัญญา เอกสารแสดงสิทธิ์ หรือตามใน 28 ลักษณะของตราสาร ที่บันทึกไว้ในประมวลรัษฎากร
อากรแสตมป์ขายที่ไหน และเท่าไร
เราสามารถซื้อได้ที่กรมสรรพากรทุกพื้นที่ และ มีราคาตั้งแต่ 1 บาท 5 บาท และ 20 บาท หรืออาการแสตมป์อิเล็กทรอนิกส์(E-Stamp) สามารถซื้อได้ทางเว็บไซต์ของทางกรมสรรพากร
ตัวอย่างตราสารอะไรบ้างที่ต้องเสียอากรแสตมป์
สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน เช่าที่ดิน
สัญญาจ้างทำของ
สํญญากู้ยืมเงิน หรือ ค้ำประกัน
หนังสือมอบอำนาจ
หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน
ข้อควรระวัง
อากรแสตมป์ต้องเสียภาย 15 วัน หลังจากการทำตราสารหรือสัญญานั้นเสร็จสมบูรณ์ ไม่เว้นวันหยุดราชการ
อากรแสตมป์นั้นไม่ใช่ดวงตราไปรษณีย์ เราจึงไม่สามารถนำไปใช้ปิดซองจดหมายได้
ณ ปัจจุบัน ทางกรมสรรพากรได้เพิ่มวิธีการชำระอากรสแตมป์ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ อ.ส.9 ซึ่งเราสามารถเสียอากรแสมป์ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้โดยตรง แต่ทางกรมสรรพากรรองรับการเสียอากรสแตมป์แค่ 5 รูปแบบ คือ
1. ตราสาร 4 จ้างทำของ
2. ตราสาร 5 กู้ยืมเงิน
3. ตราสาร 7 ใบมอบอำนาจ
4. ตราสาร 8 ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
5.ตราสาร 17 ค้ำประกัน
และสำหรับอีก 23 ลักษณะ สามารถชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินด้วยแบบ อ.ส.4
ที่มา : https://www.rd.go.th/305.html
อะไรคือภาษีมูลค่าเพิ่ม?
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ ที่เราเรียกกันสั้นๆว่า Vat คือ การเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตในประเทศหรือต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันอัตราภาษีจะอยู่ที่ 7% ซึ่งที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปคือ Vat7% นั้นเอง บริษัทมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและนำส่งภาษีส่วนต่างระหว่างภาษีซื้อและภาษีขายให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ บริษัทจะอยู่ภายใต้บังคับการจดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อให้ได้เอกสารการจดทะเบียน ภ.พ 20 เมื่อบริษัทมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท
วิธีคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม(Vat)ทำยังไงนะ?
สูตรคำนวนภาษีง่ายๆ คือ "ราคาสินค้าหรือบริการ x 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม" ตัวอย่างเช่น ราคาสินค้า 100 บาท คูณกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จะเท่ากับ 107 บาท เพราะฉะนั้น สินค้าราคา 100 บาท เราจะคิดภาษีมูลค่าเพิ่มคือ 7 บาทนั้นเอง
แล้วใครบ้างนะที่ต้องจด และจดเมื่อไร?
คำตอบ คือ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรือเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ ที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านต่อปี จะต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเเละนำส่งให้ทางกรมสรรพากร (คือ แบบเเสดงรายการ ภพ.30 นั้นเอง) เเต่นั้นไม่ใช่ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ประกอบการท่านใดที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าที่ได้รับการยกเว้นเช่น การขายพืชผลทางการเกษตร ของสด จะได้การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ทั้งนี้โปรดตรวจสอบให้แน่ชัดถึงเงี่อนไขสินค้าที่ท่านประกอบธรุกิจอยู่ ดังนั้นทางเราแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในด้านภาษีถึงประเด็นนี้อีกครั้ง เพราะเคยมีหลายท่านเข้าใจผิดแล้วคิดว่าไม่ต้องจด Vat แต่จริงๆแล้วเป็นการเข้าใจที่ผิด จึงทำให้มีการจด Vat ย้อนหลังและต้องเสียค่าปรับ
ที่มา : https://www.rd.go.th/307.html